นิทานเวตาล เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ (Vetala Panchvim shati แปลว่า นิทาน 25 เรื่องของเวตาล (ปัญจะ = 5, วิงศติ = 20) ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือชื่อ กกาสริตสาคร (Katha - sarita - sagara) ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12
ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 1719 - 1747 พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรด ฯ ให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่น ๆ อีก และต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี เรียกชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกแทบทุกภาษา
ผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานร้อยแก้ว มีบทร้อยกรองแทรกบางตอน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ให้ความบันเทิง และแทรกคติธรรม
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานร้อยแก้ว มีบทร้อยกรองแทรกบางตอน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ให้ความบันเทิง และแทรกคติธรรม